ประวัติ น้ำหอม ตอน 4 (การกำเนิด น้ำหอม ยุคใหม่)
เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่19 วงการน้ำหอมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลง ของวงการอุตสาหกรรม ศิลปะ และรสนิยมที่เปลี่ยนตามกาลเวลา รวมถึงการพัฒนาของ อุตสาหกรรมเคมีที่ได้วางรากฐานสำคัญ ให้กับการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำหอมทึ่เราคุ้นเคยกันดี ในปัจจุบัน การปฏิวัติด้านวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในสมัยนั้น ไม่ได้ทำให้รสนิยมในการใช้น้ำหอมลดลงแม้แต่น้อย มิหนำซ้ำยังได้มีน้ำหอมชื่อ “Parfurm ? la guillotine” (เครื่องที่ใช้ตัดศรีษะ) เกิดขึ้นตามสถานการณ์ทางการเมือง ภายใต้รัฐบาลที่ได้อำนาจมาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ประชาชนยังคงใช้สินค้าที่หรูหราฟุ่มเฟือย รวมถึงน้ำหอมชั้นสูงราคาแพง ซึ่งได้กลายเป็นค่านิยมในยุคสมัยนั้นไปเสียแล้ว
ในสมัยนั้นเนื่องจากจักรพรรดิ์ Napoleon และรัฐสภาของพระองค์เองที่เป็นผู้บริโภคน้ำหอมรายใหญ่ พระนาง Josephine ราชินีในจักรพรรดิ์ Napoleon ผู้สืบสายโลหิตมาจากชาว ครี-โอล (Creole roots) ผู้ซึ่งได้จากไปพร้อม ๆ กับความหลงใหลในเสน่ห์ของน้ำหอม พระนางได้รับการขนานนามว่า “Lady musk” เนื่องจากการใช้ชีวิตที่หรูหราอยู่กับ Lubin และ Houbigant นักผสมน้ำหอมคนโปรดของพระนางเล่ากันว่า ห้องแต่งตัวของพระนาง ณ Malmaison หอมอบอวลไปด้วย กลิ่นของ musk,civet,vanilla และ ambergris จวบจนเวลาผ่านไปถึงเจ็ดสิบปี
Napoleon
พระนาง Josephine
กลิ่นหอมเหล่านั้นยังคงส่งกลิ่นหอมตลบอบอวลอยู่ภายในห้องของพระองค์ ส่วนจักรพรรดิ์ Napoleon ก็ทรงมีความขัดแย้งในพระองค์เอง เกี่ยวกับความนิยมชมชอบในชนิดของน้ำหอม เพราะในความเป็นจริงพระองค์ก็มิได้ชอบน้ำหอมมากนัก โดยเฉพาะกลิ่นน้ำหอมที่ได้จากการสังเคราะห์ พระองค์ทรงพบว่าบรรยากาศในห้องของพระนาง Josephine นั้นน่าอึดอัดมาก บ่อยครั้งที่พระองค์ทรงต้องหนีห่างไปจากห้องของพระนาง ผู้รับใช้ของจักรพรรดิ์ Napoleon เคยกล่าวไว้ว่า เขาจะนวดตัวของพระองค์ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าด้วยน้ำหอมของ Jean-marie farina
ผู้ผลิตน้ำหอมผู้ซึ่งสามารถคิดค้นได้กระทั่งขวดบรรจุรูปทรงกระบอกสำหรับพระองค์โดยเฉพาะ เพื่อใช้พรมในรองเท้าบู๊ตของพระองค์ น้ำหอมของพระองค์มีมากพอที่จะใช้อย่างฟุ่มเฟือยได้ไม่ต่ำกว่าหกสิบเดือน พระองค์ทรงตรัสว่า น้ำหอมช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองของพระองค์ อีกทั้งยังมีผลต่อชีวิตรักของพระองค์ด้วย จากจดหมายโต้ตอบที่พระองค์ทรงมีถึงพระนาง Josephine เขียนไว้ว่า “Don't wash,I am on my way and will be with you in a week” “ อย่าได้ล้างมันออก ข้ากำลังเดินทางเพื่อจะไปอยู่กับนางภายในเวลาหนึ่งอาทิตย์ ”
การปฏิสังขรณ์ทางด้านน้ำหอมดูเหมือนจะยังถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ น้ำหอมในยุคสมัยนั้นยังคงเป็นไปในรูปกลิ่นดอกไม้มากกว่ากลิ่นที่ได้มาจากสัตว์ น้ำหอมชื่อ Les larmes de I'aurore and L'eaude belles เป็นที่นิยมมากในสมัยของพระเจ้า Louis ที่18 ในขณะที่ Charles X Dame Blanche or Troubadous (นักกวี) ก็ดูจะชื่นชอบในการใช้น้ำหอมเป็นประจำ Smelling salt (เกลือหอม) ดูเหมือนจะเป็นสิ่งคู่กายของสาวงาม ที่ช่วยสร้างความ Romantics ให้กับพวกเธอตามสมัยนิยม ระหว่างการครองราชย์ของจักรพรรดิ์องค์ที่สอง จักรพรรดิ์ Eug?nic ได้ทรงฟื้นฟูกลิ่นน้ำหอมซึ่งมีพื้นฐานมาจาก patchouli แต่อิทธิพลทางความคิดของพระองค์ ก็ต้องเสื่อมถอยไปโดยน้ำหอมแนวใหม่ที่ออกมาเป็นจำนวนมาก จากผู้ผลิตน้ำหอมอื่น ๆ
ความนิยมในการปลูก ดอกมะลิ กุหลาบ และต้นส้มเพื่อการค้าในสมัยนั้น ส่งผลให้เมือง Grasse ในฝรั่งเศสได้กลายเป็นศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการผลิตวัตถุดิบจากพฤกษา ที่ใช้ผสมน้ำหอมทั่วโลก อุตสาหกรรมหลักดั่งเดิมของเมือง Grasse คือ อุตสาหกรรมฟอกหนังและแม้ว่าอุตสาหกรรมน้ำหอมในเมือง Grasse จะเริ่มมีบทบาทมากขึ้นก็ตาม แต่อุตสาหกรรมทั้งสองก็ยังคงมีความเกี่ยวพันกันทางอ้อม ในปี คศ. 1724 ได้มีการก่อตั้งสมาคมผู้ผลิตน้ำหอมขึ้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นจุดแบ่งแยกของอุตสาหกรรมหลักทั้งสองของเมือง Grasse อย่างชัดเจน แต่อุตสาหกรรมน้ำหอมนั้นยังคงอยู่ภายใต้นโยบายเพื่อการพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรมหลัก เพื่อให้เป็นเมืองที่นำสมัยในยุคนั้น ระหว่างปี คศ. 1770-1900 บริษัทน้ำหอมชั้นนำได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งชื่อของบริษัทเหล่านี้ได้สะท้อนถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมน้ำหอมที่มีต่อการค้าของโลก เช่น Chiris (1768), L.T.Piver(1774), Latier(1795), Roure-Bertrand Dupont(1820), Zozio(1840), Robertet(1850) และ Payan-Bertrand(1854)
Paris ได้ประกาศตัวเองเป็นเมืองธุรกิจและเงาของเมือง Grasse เพื่อเป็นศูนย์กลางแห่งน้ำหอมโลก เกิดความเจริญเติบโตทางธุรกิจ แม้เช่นนั้นบริษัท Jean-marie farina ก็ยังคงดำเนินกิจการอยู่ต่อไป เช่นเดียวกับ Houbigen, Lubin , และ L.T. Piver ก่อนจะขายกิจการให้กับ L?once Collas และถูกขายต่อไปในภายหลังให้กับลูกพี่ลูกน้องของ Armand Roger และ Charles Gallet
บริษัท Roger&Gallet ได้มุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการค้นคว้าและพัฒนาน้ำหอมสมัยใหม่และสบู่คุณภาพสูง(ซึ่งยังคงมีการผลิตและจำหน่ายในปัจจุบัน) นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำในการเอาบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม แปลกตา มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของบริษัท ในขณะเดียวกันยังมีบุคคลสำคัญของวงการน้ำหอมอีกหนึ่งท่านคือ Pierre-francois pascal gurelain (ดอกเตอร์หนุ่มนักเคมีผู้เป็นราชนิกุลแห่งราชวงค์ฝรั่งเศส) ในปี ค.ศ. 1828 เขาได้เปิดร้านค้าที่ Rue de rivali เพื่อขายน้ำหอมจากการสร้างสรรค์กลิ่นด้วยตัวเขาเอง และหนึ่งในน้ำหอมที่เขาสร้างสรรค์นั้นก็คือ Eau de cologne imperiale ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับเขาจนได้รับพระราชทานเกียรติให้เป็น Empress eug?ni?s royal warrant และลูกชายของเขา Ain? และ Gabriel ได้เจริญรอยตามบิดาของเขา ได้คิดค้นน้ำหอมดัง Perfume Jicky ขึ้นในช่วงปลายศตวรรษนั้นเอง
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้ทำให้วงการน้ำหอมก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริงก็คือ การเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ (organic chemistry) ทำให้นักวิทยาศาสตร์ สามารถเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับโมเลกุลของน้ำหอม และเกิดการสังเคราะห์เลียนแบบขึ้น ทั้งนี้เท่ากับได้ปลดปล่อยการจำกัดทางความคิดและจินตนาการของนักผลิต ในการสร้างสรรค์ผสมน้ำหอมแนวใหม่ๆ ให้ได้มากขึ้นนอกเหนือจากการเลียนแบบจากธรรมชาติ สัมผัสใหม่ที่ได้รับมาได้เปลี่ยนแปลงให้น้ำหอมในศตวรรษทที่ 20 เปลี่ยนรูปแบบไปในทางศิลปะ มากกว่าจะเป็นเพียงการผสมกลิ่นหอมไปตามธรรมชาติของมันเท่านั้น
การเกิดขึ้นใหม่ของอุตสาหกรรมผลิตขวดโดยใช้เครื่องจักร ไม่สามารถทดแทน หรือทำให้งานฝีมือคุณภาพสูญหายไปได้ Crystal ยังคงไว้ซึ่งความเป็นขุมทรัพย์ที่ล้ำค่า โรงงานต่าง ๆ ในเมื่อ Bohemia ,ฝรั่งเศสและอังกฤษ ยังคงความละเอียดอ่อนทางเทคนิคในการผลิตบรรจุภัณฑ์น้ำหอมอยู่เหมือนเดิม สิ่งสำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นในศตวรรษนี้ก็คือ การพัฒนาของนักประดิษฐ์ที่ชื่อ Briflat-Savarin ผู้ประดิษฐ์ atomizer (เครื่องฉีดให้เป็นละออง) ขึ้นในปี ค.ศ. 1870 ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ของเขาได้เปลี่ยนแปลงวิธีการใช้น้ำหอม เป็นการ สเปรย์ บนเรืองร่างของเราตราบจนทุกวันนี้
0 ความคิดเห็น:
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แสดงความคิดเห็น