ประวัติ น้ำหอม ตอน 3
พระเจ้า หลุย์ที่ 15
ในประเทศฝรั่งเศส ยุคแห่งปรัชญาและการประวัติทางวัฒนธรรม และยังเป็นยุค แห่งความโชติช่วงของแวดวงน้ำหอมด้วยเช่นกัน ในพระราชสำนักของพระเจ้า หลุย์ที่ 15 (LOUIS XV) ซึ่งได้รับ การขนานนามว่าเป็นราชสำนักแห่งน้ำหอม เครื่องหอมนานา ชนิดไม่ได้ถูกนำไปใช้เฉพาะกับร่างกายเท่านั้น แต่ยังได้ถูกนำ ไปใช้เพิ่มความหอมให้กับเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า พัด ตลอดจนเฟอร์นิเจอร์ ต่างๆเพื่อให้กลิ่นหอมตลบไปทั่วเขต พระราชฐาน
ในขณะที่ Beaux De Senteur (เครื่องหอมชื่อดังในสมัยนั้น) ได้รับความนิยมอย่าง กว้างขวางมากขึ้น การแข่งขันในการผลิตเครื่องหอม ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงรูป แบบให้ซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน โดยมีการ ละลายเครื่องหอมกับน้ำส้มสายชูและเกลือ (vinaigre de toilette or salts) เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรค และดับกลิ่นไม่พึง ประสงค์ หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงสูงสุดในยุคนั้นชื่อ “four thieves vinaigre” (ซอสหอมชนิดหนึ่งของฝรั่งเศส) และได้สร้างความมั่งคั่งให้กับเจ้าของสินค้าในเมือง MARSEILLES อย่างมหาศาล
ในปี คศ. 1720 ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ในฝรั่งเศส ได้ปรากฏชื่อ four thieves(สี่จอมโจร) ซึ่งไม่มีใครไม่รู้จัก กลุ่มโจรขโมยสมบัติตามหลุมฝังศพของบรรดาเศรษฐีของฝรั่งเศส ครั้งหนึ่งกลุ่มสี่จอม โจรได้เข้าไปขโมยขุดหลุมฝังศพแห่งหนึ่งซึ่งเป็นศพที่ติดเชื่อโรคระบาด แต่ทั้งสี่กลับปลอดภัยจากการ ติดเชื้อเนื่องจาก Vinaigre ที่ทั้งสี่ได้ผลิตขึ้นใช้เอง และหลังจากสี่จอมโจรถูกจับเรื่องราวที่พวกเขา ปลอดภัยจากโรคติดต่อก็แพร่สะพัดไปทั่วฝรั่งเศส และทั้งสี่ก็จำเป็นต้องขายสูตรมหัศจรรย์ของเขาให้ผู้อื่น ด้วยผลตอบแทนอันน้อยนิด ดูเหมือนว่าสูตรลับของเหล่าโจรจะมีความสามารถในการขับไล่แมลงร้ายต่าง ๆ ซึ่งเป็นพาหะในการแพร่เชื้อโรคมาสู่ร่างกายมนุษย์
ในศตวรรษ์ที่ 18 เป็นช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติน้ำหอมสู่ยุคใหม่ พร้อมกับการเกิด Eau de cologne (ออดิโคโลญน์) สารเหลวแห่งความสดชื่น อันประกอบด้วย ROSEMARY, NEROLI(ORANGE FLOWER), BERGAMOT, และ LEMON OIL Eau de cologne ได้ถูกนำไปใช้งานใน หลากหลายรูปแบบ บ้างก็ใช้ผสมน้ำสำหรับแช่อาบ(การแช่ในอ่างอาบน้ำได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และปฏิบัติเป็นกิจวัตในยุคนั้น) บ้างใช้ทำน้ำยาบ้วนปาก บ้างใช้ทำน้ำยาสวนทวารหนัก (DETOX) บ้างใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับฟอกเรือนร่าง และยังมีการใช้ฉีดเข้าร่างกายโดยตรง เป็นต้น จากความนิยม สูงสุดของ Eau de cologne ทำให้เกิดการโต้แย้งอวดอ้างมากมายถึงสรรพคุณในผลิตผลของเจ้าของ สูตรแต่ละราย ต่างก็เขียนสูตรของตนเองเป็นเอกสารเพื่อล้มล้างเอาชนะสร้างความน่าเชื่อถือกับฝ่าย ตรงข้าม และหนึ่งในตัวอย่างคือความขัดแย้งระหว่างตระกูล FEMINIS และ ตระกูลFARINA FAMILIES หนึ่งในผู้นำทฤษฎีที่น่าเชื่อถือที่สุดคือตระกูล FARINA FAMILY FORM EMILIA ทางตอนเหนือของอิตาลี ผู้ค้นพบสูตรน้ำหอมดังแห่งยุคชื่อ Eau de bologna อีกสูตรที่ได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวาง ระหว่างศตวรรษที่ 14 คือ Aqua regina น้ำหอมสูตรลับของสำนักแม่ชี SANTA MARIA NEVELLA IN FLORENCE สูตรลับนี้ถูกปิดเป็นความลับมาตลอดจน กระทั่งศตวรรษที่ 17 ได้มีชาวอิตาเลียนชื่อ Giovanni paolo feminis ได้ลวงให้หัวหน้าแม่ชีเปิดเผย สูตรลับ Aqua regina ให้กับตน หลังจากได้สูตรลับนี้แล้ว Giovanni Paolo ได้ประกาศตนเป็นนักปรุงน้ำหอม ดำเนินการผลิต Colonge ภายใต้ชื่อ “Eau Admirable” โดยไม่ต้องเสียเวลาแม้แต่นาทีเพื่อคิดค้น สูตร ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “Eau de cologne” และสูตรน้ำหอมนี้ต่อมาได้ตกทอดสู่มือหลานชาย ชื่อ Gian Maria Farina ผู้ซึ่งสืบทอดและขยายกิจการของลุงให้ใหญ่โตจนถึง คศ.1766 หลังการจาก ไปของ Gian maria farina บุคคลอื่น ๆ ในตระกูล Farina ก็ได้เข้าอ้างสิทธิในสูตรลับ Eau de Cologne และต่อมาในปี คศ. 1865 พบว่ามีร้านจำหน่าย Cologne ในชื่อนี้มากกว่า สามสิบเก้าร้าน กระจายอยู่ทั่วไป อย่างไรก็ตาม Jean marie farina (ไม่มีผู้ใดทราบว่าเป็นนามจริงหรือสมมุติขึ้น) ได้ริเริ่มแนวคิดที่จะผลิต cologne ของเขาให้แตกต่างจากร้านอื่น ๆ โดยได้ตั้งหลักปักฐานขึ้นในเมือง ปารีส ประเทศฝรั่งเศสในปี คศ.1806 คุณภาพที่ดีเยี่ยมของน้ำหอมที่เขาผลิตขึ้นประกอบกับความเป็น อัจฉริยะทางการขายของคู่ครองของเขา ได้ทำให้น้ำหอมที่เขาผลิตขึ้นสร้างชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว เห็นได้จากหนึ่งในลูกค้าประจำที่สำคัญคือ จักรพรรดิ Napoleon ที่ยิ่งใหญ่แห่งฝรั่งเศส
เรื่องราวเกี่ยวกับน้ำหอมที่น่าสนใจอีกเรื่องต้องขอย้อนกลับไปในปี คศ. 1792 ในงานแต่งงานของบุตร ชายนายธนาคาร ชื่อ Wihelm ณ.สำนักงานใหญ่ของธนาคาร MÜLHENS BANK ในเมือง Cologne ประเทศเยอรมันนี มีพระสงฆ์ที่มาร่วมงานผู้หนึ่ง ได้มอบเอกสารเขียนด้วยลายมือ ซึ่งเป็นสูตร ลับในการผลิตสารที่มีกลิ่นหอม และมีคุณสมบัติทางยาให้เป็นของขวัญแก่คู่บ่าวสาว ชื่อ “Aqua mirabilis” ต่อมาเจ้าบ่าวหนุ่มน้อยได้ใช้สูตรนี้ในการผลิตและจำหน่ายน้ำหอมนี้ภายใต้ชื่อสินค้า “4711 The true eau de cologne” (4711 คือ เลขที่บ้านที่เขาอยู่ซึ่งกำหนดโดยกองทัพของ จักรพรรดิ์ Napoleon) eau de cologne 4711 ของเขายังคงจำหน่ายมาจนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลากว่า สองร้อยปี โดยผู้สืบทอดทางสายโลหิตของเขา Ferdinand Mülhens และยังคงใช้สูตรดั่งเดิมเหมือน เมื่อปี ค.ศ. 1792
ในศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงที่มีการพัฒนาภาชนะบรรจุน้ำหอมให้มีความหลากหลาย ไปตามชนิดของ น้ำหอมและการใช้งาน ฟองน้ำชุบด้วยน้ำหอมบรรจุอยู่ในภาชนะ เคลือบหรือทาไว้ด้วยทอง(AIR FRESHERNER ชนิดแรก) น้ำหอมชั้นดีที่ บรรจ ุในภาชนะรูปทรงแพร (pear shape) เป็นขวดน้ำหอมโปรดของพระเจ้า หลุยส์ที่ 14 นอกจากนี้ภาชนะที่ทำจากแก้ว เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดย เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการเปิดโรงงานผลิตเครื่องแก้ว BACCARAT FACTORY ของประเทศ ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1765 และยังมีความมุ่งมั่นที่จะ พัฒนารูปแบบและคุณภาพ
ของบรรจุภัณฑ์เครื่องแก้วของโรงงาน SAINT-LOUIS GLASSWORKS เจ้าของเครื่องแก้ว คริสตัล (crystal) ที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ผลิตเครื่องประดับที่ได้เริ่มหันมาผลิตภาชนะ บรรจุน้ำหอมโดยใช้ทองและเงินแกะสลักลวดลายอย่างงดงาม ลักษณะของขวดน้ำหอมจะใช้แนวศิลปะ แบบ BAROQUEในศตวรรษที่17 เป็นแรงบันดาลใจ แบบฉบับเฉดเช่นของChinoiserie และ Rousseaus Cherished ซึ่งเน้นการกลับสู่ธรรมชาติ ส่วนศิลปะจีนในยุคนั้นจะมุ่งเน้นในการผลิต ภาชนะ Chantilly porcelain bottles (ขวดที่ทำจากเครื่องปั่นดินเผาเคลือบ) ในขณะที่ SAINT-CLOUD FACTORY ดูจะมีชื่อเสียงในการชุบทองและ Sèvres สำหรับภาชนะรูปทรงแพร (pear-shape bottles) แต่ดูเหมือนว่าภาชนะดินเผาเคลือบแบบจีน จะมีคุณสมบัติในการเก็บรักษาคุณภาพ น้ำหอมได้ดีกว่าภาชนะบรรจุของเยอรมันนี,ออสเตรียและอังกฤษ โรงงาน CHELSEA FACTORY ของอังกฤษเป็นผู้เชียวชาญในการผลิตขวดน้ำหอมแกะสลักรูปต่าง ๆ โดยเฉพาะรูปมนุษย์ สัตว์ และผลไม้ โดยส่วนหัวมักจะเป็นจุกหรือฝาเปิดของขวด ขณะเดียวกันโรงงานขวด WEDGWOOD BOTTLES
รูปตัวอย่างขวดน้ำหอมยุคต่างๆ
ของอังกฤษมักออกแบบขวดน้ำหอมเป็นสีน้ำเงินและขาว ในเยอรมันนี โรงงาน MEISSEN FACTORY เป็นโรงงานแรกในยุโรปที่ผลิต porcelain โดยใช้ hard poste (ดินเปียกเหนียวสำหรับปั้นภาชนะ) รูปแบบอย่าง Rococo designs, oriental motifs,รูปดอกไม้,รูปผลไม้และรูปการสู้รบดูจะเป็นที่นิยม มากในสมัยนั้น ในขณะที่โรงงาน CHELESEA FACTORY ของอังกฤษดูจะ ชำนาญในการทำภาชนะไปตามคุณลักษณะของ Commedia dell’arte
ศตวรรษที่ 18 ยังเป็นยุคสมัยของศิลปะ nécessaire ซึ่งเป็นภาชนะบรรจุน้ำหอม ขนาดเล็ก เช่นเดี่ยวกับหลอดแก้วเล็ก ๆ ที่ใช้ในการบรรจุน้ำหอม รูปแบบภาชนะ ที่เรียกกันว่า nécessaire เหล่านี้ มักจะได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งของทรงยาว เช่น ดินสอ แปรงสีฟัน แม้กระทั่งที่สำหรับขูดลิ้น ตลอดจนไม้แคะหูเป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แสดงความคิดเห็น